วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน


วิชา   การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน
วันที่  19  กรกฎาคา  พ.ศ.2556
ครั้งที่  6  เวลาเรียน  8:00-12:20 น.

     วันนี้อาจารย์สอนในเรื่องทักษะทางภาษา   ทำให้รู้ว่าในเด็กอนุบาลยังไม่ควรเรียนในเรื่องการประสมคำ  การแจกลูกคำ   เพราะเด็กในวัยนี้ต้องการเรียนรู้ภาษาที่สอดคล้องกับธรรมชาติของตัวเด็กเอง   โดยการที่เด็กให้ความสนใจ  อยากรู้  อยากเห็น  สิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็กเอง
      การสอนภาษาแบบธรรมชาติจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กได้ลงมือทำและมีประการณ์เอง   เด็กเรียนรู้ได้จากการทำกิจกรรม  การได้สัมผัสสิ่งของ   และสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง
     


น้องมารี  เธอช่างขาว  เราเลยหลงรัก  เห็นแล้วอยากใกล้ชชิด
และอยากเทคแคร์  แต่แม่เธอคือมาดาม  ซึ่งมีเซฟการ์ด คอยปกป้อง 
น้องมารีอยู่ตลอด  ส่วนเราก็เป็นแค่ชาวเกาะ  เราเลยต้องทำใจ



แก้ว  กะลา  ขัน  โอ่ง 
เป่าลูกโปง  โอ่ง  ขัน  กะลา  แก้ว




ตา  หู  จมูก  จับ  ให้  ถูก
จับ  จมูก  ตา  หู
จับ  ใหม่  จับ  ให้  ฉัน  ดู  จับ  ใหม่  จับ  ให้  ฉัน  ดู
จับ  จมูก  ตา  หู
จับ  หู  ตา  จมูก



เพลง  แปลงฟัน
แปลงซิแปลงแปลงฟัน
ฟันหนูสวยสะอาดดี
แปลงขึ้นแปลงลงทุกซี่
สะอาดดีเมื่อหนูแปลงฟัน











การนำไปใช้
รู้ว่าเด็กต้องการเรียนภาษาที่สอดคล้องกับธรรมชาติ
สามารถนำไปจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กได้



บันทึกอนุทิน

วิชา   การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน
วันที่  12  กรกฎาคา  พ.ศ.2556
ครั้งที่  5  เวลาเรียน  8:00-12:20 น.


กิจกรรมที่  1  วันนี้อาจารย์ให้กลุ่มที่เหลือออกมารายงาน 
กลุ่มที่  7  เด็กปฐมวัยเรียนรรู็ภาษาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวและภายในบ้าน
      วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
            เด็กส่วนใหญ่จะเรียนรู้ผ่านการเล่นโดยการสัมผัสทั้ง  5  การเล่นของเด็กเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็กเข้าใจ   และเด็กจะเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ครูจัดให้
     
     กิจกรรมที่  2  อาจารย์แจกกระดาษให้พวกเราวาดรูปสิ่งที่ตัวรัก 
ฉันวาดรูปตุ๊กตาหมีเพราะตุ๊กตาหมีตัวนี้แม่ซื้อให้เป็นของขวัญวันเกิด   เวลานอนก็จะเอามานอนกอดทุกคืน   แล้วทุกวันนี้ตุ๊กตาหมีตัวนี้ก็ถูกเก็บเข้าไปไว้ในตู้

 
      อาจารย์ได้อธิบายถึงองค์ประกอบของภาษาซึ่งประกอบด้วย " Phonology   Semantic   Syntax   Pramatic "
     
      และได้อธิบายแนวคิดของนักการศึกษาและได้อธิบายแนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา

บัยทึกอนุทิน


วิชา   การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็ฏปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน
วันที่   5  กรกฎาคม  พ.ศ.2556
ครั้งที่  4  เวลาเรียน  8:00-12.20 น.

     วันนี้อาจารย์ให้แต่นำเสนองานที่มอบหมายไป

กลุ่มที่  1  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็ฏปฐมวัย
      เด็กจะเรียนรู้ภาษาจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว   ทั้งสิ่งแวดล้อมที่บ้านและที่โรงเรียน   เด็กจะเรียนรู้การฟังและการพูดก่อน   เพราะการฟังและการพูกเป็นของคู่กัน

กลุ่มที่  2  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
      พัฒนาการรับรู้ของเด็ก
         เด็กในวัยนี้จะมีความสามารถในด้านการรับรู้ถึงการคำนึงความคิดความเข้าใจของเด็กปฐมวัย

กลุ่มที่  3  พัฒนาการด้านสติปัญญา 3-5  ปี
      -  เด็กปฎิบัติตามคำสั่งได้
      -  เรียนรู้จากการสังเกต
   4  ปี
      -  บอกชื่อ-นามสกุลได้
      -  ปฏิบัติตามคำสั่งได้
   5  ปี
      -  บอกเวลาได้ว่าวันนี้  พรุ้งนี้
      -  บอกชื่อจริง-นามสกุลได้

กลุ่มที่  6   แนวคิดนักการศึกษาด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
   






กลุ่มที่   9   องค์ประกอบทางภาษา
      ประกอบด้วยเสียง  ประโยค  คำ  ความหมาย 

บันทึกอนุทิน

                                         
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็ฏปฐมวัย
อาจารย์ผู็สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
                                                    วันที่  28  มิถุนายน  พ.ศ.2556
                                                 ครั้งที่  3 เวลาเรียน  8:00-12:20 น.
                                                           กิจกรรมรับน้อง








                                                    

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็ฏปฐมวัย
อาจารย์ผู็สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่  21  มิถุนายน  พ.ศ.2556
ครั้งที่  2 เวลาเรียน  8:00-12:20 น.
วันนี้ในตอนตั้นคาบอาจารย์ให้ดูรูปภาพที่สื่อความหมาย  ที่เราดูแล้วสามาร๔ดูออกว่าภาพนี้สื่อความหมายว่าอะไร  อาจารย์มีประโยคมาให้พวกเราอ่านซึ่งถ้าเราอ่านเร็วๆจะทำให้ความหมายของประโยคนั้นเปลี่บยไป เช่น
" ระนอง ระยอง ยะลา "
" ยายกินลำไยน้ำลายยายไหลย้อย "
" กินมันติดเหงือก กินเผือกติดฟัน กินทั้งมันกินทั้งเผือก ติดทั้งเหงือกติดทั้งฟัน "
" ยายมีขายหอย ยายมอยขายหมี ขนหมีของยายมอยติดอยู่บนหอยของยายมี "
อาจารย์ได้สอนเรื่องความหมายของภาษา 
การสื่อความหมาย 
   เครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก
ความสำคัญของภาษา
   เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
   เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
   เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจ
   เป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงใจ
ทักษะทางภาษา
   ฟัง,พูด,อ่าน,เขียน
ทฤษฎีทางภาษาของ "Piaget"
   การที่เด็กปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยในการพัฒนาการทางภาษาและสติปัญญา
กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ
   -การดูดซึม " Assimilation "
   -การปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ " Accommodation "
เมื่อเกิดกาารดูดซึมและการปรับความเข้าใจจะเกิดความสมดุล " Equilibrium "
Piaget แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา ดังนี้
   -ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมพันธ์
      เด็กเรียนรู้จากการสัมพันธ์  เล่นบทยาทสมมติ
   -ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล
            ใช้ภาษาสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้าง  ให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง
   -ขั้นการคิดแบบรูปธรรม
      เด็กสามารถแก้ปันหาได้โดยใช้รูปธรรม
   -ขั้นการคิดแบบนามธรรม
      เด็กคิดด้วยเหตุผลเป็นระบบ  ใช้เหตุผลแก้ปัญหา
พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
   เด็กจะค่อยๆสร้างความรู็และความเข้าใจเป็นลำดับขั้น  ครูและผู้ใหญ่ต้องเข้าใจและยอมรับหากเด็กใช้คำและไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง
และก่อนหมดเวลาเรียนอาจารย์ได้ให้งานกลุ่มไปทำแล้วนำมาเสนอในสัปดาห์ต่อไป

บันทึกอนุทิน

วิชา   การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน
วันที่  14  มิถุนายน  พ.ศ.2556
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 8:00-12:20น.
    อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน Mind Map ในหัวข้อ "การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย"
และอาจารย์ได้สอนวิธีการสร้องบล็อกเป็นของตัวเอง