วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็ฏปฐมวัย
อาจารย์ผู็สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่  21  มิถุนายน  พ.ศ.2556
ครั้งที่  2 เวลาเรียน  8:00-12:20 น.
วันนี้ในตอนตั้นคาบอาจารย์ให้ดูรูปภาพที่สื่อความหมาย  ที่เราดูแล้วสามาร๔ดูออกว่าภาพนี้สื่อความหมายว่าอะไร  อาจารย์มีประโยคมาให้พวกเราอ่านซึ่งถ้าเราอ่านเร็วๆจะทำให้ความหมายของประโยคนั้นเปลี่บยไป เช่น
" ระนอง ระยอง ยะลา "
" ยายกินลำไยน้ำลายยายไหลย้อย "
" กินมันติดเหงือก กินเผือกติดฟัน กินทั้งมันกินทั้งเผือก ติดทั้งเหงือกติดทั้งฟัน "
" ยายมีขายหอย ยายมอยขายหมี ขนหมีของยายมอยติดอยู่บนหอยของยายมี "
อาจารย์ได้สอนเรื่องความหมายของภาษา 
การสื่อความหมาย 
   เครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก
ความสำคัญของภาษา
   เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
   เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
   เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจ
   เป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงใจ
ทักษะทางภาษา
   ฟัง,พูด,อ่าน,เขียน
ทฤษฎีทางภาษาของ "Piaget"
   การที่เด็กปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยในการพัฒนาการทางภาษาและสติปัญญา
กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ
   -การดูดซึม " Assimilation "
   -การปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ " Accommodation "
เมื่อเกิดกาารดูดซึมและการปรับความเข้าใจจะเกิดความสมดุล " Equilibrium "
Piaget แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา ดังนี้
   -ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมพันธ์
      เด็กเรียนรู้จากการสัมพันธ์  เล่นบทยาทสมมติ
   -ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล
            ใช้ภาษาสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้าง  ให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง
   -ขั้นการคิดแบบรูปธรรม
      เด็กสามารถแก้ปันหาได้โดยใช้รูปธรรม
   -ขั้นการคิดแบบนามธรรม
      เด็กคิดด้วยเหตุผลเป็นระบบ  ใช้เหตุผลแก้ปัญหา
พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
   เด็กจะค่อยๆสร้างความรู็และความเข้าใจเป็นลำดับขั้น  ครูและผู้ใหญ่ต้องเข้าใจและยอมรับหากเด็กใช้คำและไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง
และก่อนหมดเวลาเรียนอาจารย์ได้ให้งานกลุ่มไปทำแล้วนำมาเสนอในสัปดาห์ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น