วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่  23  สิงหาคม  พ.ศ. 2556
ครั้งที่  10  เวลาเรียน  9:00-11:30 น.

วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับความหมายของสื่อการเรียนรู้  ประเภทของสื่อ  
ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้  
ถ้าแยกประเภทของสื่อจะแบ่งได้
1.  สื่อสิ่งพิมพ์  เช่น  หนังสือนิทาน  หนังสือพิมพ์  นิตยาสาร
2.  สื่อวัสดุอุปกรณ์  เช่น  ของจริง  หุ่นจำลอง  แผนที่  แผนภูมิ
3.  สื่อโสตทัศน์นูปกรณ์  เช่น  คอมพิวเตอร์  เครื่องเล่นแผ่น
4.  สื่อกิจกรรม  เช่น  เกมส์  เพลง  สถานการณ์จำลอง
5.  สื่อบริบท  เช่น  ห้องเรียน  ชุมชน  บุคคล

พออาจารย์สอนเรื่องสื่อเสร็จอาจารณ์ให้พวกเราประดิษฐ์สื่อตั้งโต๊ะ
ขั้นตอน
เอา A 4  มาพับครึ่งตามขวาง
เอาสันเข้าหาตนเองแล้วพับสันขึ้นไปประมาณ  1  นิ้ว
แล้ววาดรูปและคำศัพท์ที่เราเตรียมไว้
แล้วเอากรรไกรตัดตามรูปและเว้นฐานไว้ตั้ง
แล้วเอากาวติดระหว่างภาพให้ติดกัน









การนำไปใช้

สามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กในอนาคตได้
และยังสามารถนำไปใช้ในการทำกิจกรรมของรายวิชาอื่นได้อีก

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่  16  สิงหาคม  พ.ศ.  2556
ครั้งที่  9  เวลาเรียน  8:00-12:20  น.

วันนี้อาจารย์ให้พวกเราแบ่งกลุ่มกัน  เพื่อท่จะช่วยกันผลิตสื่อ
กลุ่มของเราได้สื่อชักได้  โดยเป็นสื่อชักที่เกี่ยวกับอาเซียน
อาจารย์กระดาษแข็งมาเป็นพื้นหลัง  แล้วให้พวกเราเอาธงมาระบายสีตามประเทศที่ได้
แล้ววาดเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศเพื่อเอาไว้ตกแต่ง





























การนำความรู้ไปใช้

เราสามารถนำสื่อไปใช้กับการเรียนการสอนได้ในอนาคต
สามารถนำสื่อนี้ไปสร้างความสนุกให้กับเด็กๆได้


วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่  9  สิงหาคม  พ.ศ.2556
ครั้งที่  8  เวลาเรียน  8:30-12:20  น.

วันนี้อาจารย์ให้พวกเราช่วยกันแต่งนิทานขึ้นมา  1  เรื่อง  โดยพวกเราเลือกที่จะใช้หมูเป็นตัวละครหลัก
พอได้นิทานมา  1  เรื่องแล้วอาจารย์ก็แจกกระดาษให้เรากลุ่มละ  1  แผ่น  เพื่อที่จะได้วาดนิทาน
โดยแบ่งกลุ่ม  กลุ่มละ  1  ตอน  
กลุ่มของเราได้ตอนที่  2  "มีพ่อหมูแม่หมูและลูกหมูกอีก  5  ตัว"

























ความรู้ในครั้งนี้

อาจารย์บอกว่าเราสามารถนำไปใช้กับเด็กอนุบาลได้  โดยให้เด็กช่วยกันแต่งนิทาน
แล้วช่วนกันวาดรูปนิทานในแต่ละตอน  โดยนิทานจะต้องไม่มีความยาวมาก


การนำความรู้ไปใช้

   เีราสามารถนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้  โดยให้เด็กช่วยกันแต่งช่วยกันวาดและช่วยกันเล่า
   เราสามารถนำสิ่งที่เราเรียนไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับรายวิชาอื่นได้

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่เรียน  26  กรกฎาคม  พ.ศ. 2556
ครั้งที่  7  เวลาเรียน  8:00-12:20  น.

วันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้พวกเราคนละแผ่น  ให้พวกเราวาดรูปอะไรก็ได้ที่เราอยากวาด

ฉันจึงวาดภาพน้องหมู



พอวาดรูปของตัวเองเสร็จอาจารย์ก็ให้พวกเราเอารูปที่เราวาดไปเราเป็นนิทาน  โดยที่เอารูปภาพของเพื่อนทั้งห้องมาเล่าเป็นนิทานเรื่องเดียวกันทั้งหมด
















เนื้อเรื่องพอสังเขป

    "น้องหมูชวนน้องแกะและพี่นารูดตะไปเที่ยวบ้านประปิ๊กกระริ๊คที่ร้อยเอ็ด  ประปิ๊กกระริ๊ดอยู่บ้านที่ร้อยเอ็ดไม่มีเพื่อนเล่นจึงเอาฟ้องน้ำมาเป็นเพื่อนเล่น  และกัดฟองนน้ำจนขาดเป็นรู"

พอทุกคนเล่าเสร็จอาจารย์ก็ให้พวกเราวาดจุด  9  จุด  แถวละ  3  จุด  3  แถว  แล้วให้เราทำยังไงก็ได้ลากเส้น  4  เส้นให้ครบทุกจุดและห้ามยกหัวปากกาขึ้น  เพื่อที่จะสอนให้พวกเรารู้ว่า  "เราควรคิดอะไรให้นอกรกอบบ้างไม่ใช่ต้องยึดติดกับสิ่งที่เราเคยเห็นหรือเคยทำตลอดเวลา"




อาจารย์ได้สอนเรื่องการประเมินเด็ก

1.  ใช้เครื่องมือที่หลากหลาย
2.  เน้นความก้าวหน้าของเด็ก
3.  ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
4.  ให้เด็ฏได้ประเมินตนเอง
5.  ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
6.  ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล

และในท้ายคาบอาจารย์ได้เล่านิทาน  โดยใช้เทคนิคเล่าไปวาดไป  อาจารย์บอกกับพวกเราว่า  "เราควรจะวาดและเล่าให้เด็กได้ดู  1  รอบก่อนแล้วค่อยให้เด็กวาดตาม"









การนำไปใช้

1.  การที่จะสอนอะไรให้กับเด็ก  เราควรเล่าให้เด็กได้ฟังหนึ่งรอบแล้วค่อยให้เด็กทำตาม
2.  ในการเล่านิทานแบบเล่าไปวาดไปสามารถนำไปใช้เก็บเด็กได้
3.  นำการประเมินไปใช้กับเด็กได้ถูกต้อง
4.  การเป็นครูต้องคิดนอกกรอบบ้างในบ้างครั้ง