อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่เรียน 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 8:00-12:20 น.
วันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้พวกเราคนละแผ่น ให้พวกเราวาดรูปอะไรก็ได้ที่เราอยากวาด
ฉันจึงวาดภาพน้องหมู
พอวาดรูปของตัวเองเสร็จอาจารย์ก็ให้พวกเราเอารูปที่เราวาดไปเราเป็นนิทาน โดยที่เอารูปภาพของเพื่อนทั้งห้องมาเล่าเป็นนิทานเรื่องเดียวกันทั้งหมด
เนื้อเรื่องพอสังเขป
"น้องหมูชวนน้องแกะและพี่นารูดตะไปเที่ยวบ้านประปิ๊กกระริ๊คที่ร้อยเอ็ด ประปิ๊กกระริ๊ดอยู่บ้านที่ร้อยเอ็ดไม่มีเพื่อนเล่นจึงเอาฟ้องน้ำมาเป็นเพื่อนเล่น และกัดฟองนน้ำจนขาดเป็นรู"
พอทุกคนเล่าเสร็จอาจารย์ก็ให้พวกเราวาดจุด 9 จุด แถวละ 3 จุด 3 แถว แล้วให้เราทำยังไงก็ได้ลากเส้น 4 เส้นให้ครบทุกจุดและห้ามยกหัวปากกาขึ้น เพื่อที่จะสอนให้พวกเรารู้ว่า "เราควรคิดอะไรให้นอกรกอบบ้างไม่ใช่ต้องยึดติดกับสิ่งที่เราเคยเห็นหรือเคยทำตลอดเวลา"
อาจารย์ได้สอนเรื่องการประเมินเด็ก
1. ใช้เครื่องมือที่หลากหลาย
2. เน้นความก้าวหน้าของเด็ก
3. ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
4. ให้เด็ฏได้ประเมินตนเอง
5. ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
6. ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
และในท้ายคาบอาจารย์ได้เล่านิทาน โดยใช้เทคนิคเล่าไปวาดไป อาจารย์บอกกับพวกเราว่า "เราควรจะวาดและเล่าให้เด็กได้ดู 1 รอบก่อนแล้วค่อยให้เด็กวาดตาม"
การนำไปใช้
1. การที่จะสอนอะไรให้กับเด็ก เราควรเล่าให้เด็กได้ฟังหนึ่งรอบแล้วค่อยให้เด็กทำตาม
2. ในการเล่านิทานแบบเล่าไปวาดไปสามารถนำไปใช้เก็บเด็กได้
3. นำการประเมินไปใช้กับเด็กได้ถูกต้อง
4. การเป็นครูต้องคิดนอกกรอบบ้างในบ้างครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น